Trending

No tags found
Thursday Oct 10, 2024

ตลท.วอนรัฐ ให้เวลานักลงทุนปรับตัว ก่อนเก็บภาษีซื้อขายหุ้น

ตลาดหลักทรัพย์ วอนรัฐ ขอเวลาให้นักลงทุนปรับตัว ก่อนพิจารณาเก็บภาษีซื้อขายหุ้น ย้ำพิจารณาถึงผลกระทบนักลงทุนจำนวนมาก และต้องไม่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของตลาดหุ้นลดลง ยอมรับนักลงทุนไทยอาจไหลออกไปลงทุนต่างประเทศมากขึ้น

นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.)เปิดเผยว่า ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีข้อเสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาอัตราจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้นให้สะท้อนค่าใช้จ่ายรวมจากการซื้อขายหุ้น ความสามารถในการจ่ายภาษีของนักลงทุนซื้อหวยออนไลน์ถูกกฎหมายมั่นใจได้ และสภาวการณ์ลงทุนในประเทศ ให้สอดคล้องและเทียบเคียงกับตลาดหุ้นคู่แข่งในภูมิภาคด้วย เพื่อชะลอผู้ลงทุนไทยหันไปลงทุนในตลาดต่างประเทศ ลดปัญหาเงินทุนไหลออก หรือรวมทั้ง ลดความน่าสนใจของตลาดหุ้นไทย

นายภากรกล่าวว่า การจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้น ซึ่งถูกยกเว้นมาหลายปี เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปโครงสร้างภาษีและเป็นนโยบายรัฐบาลที่จำเป็นต้องจัดเก็บภาษีดังกล่าว เพื่อนำเม็ดเงินมาใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งตลาดหลักทรัพย์ฯได้รับทราบและให้ข้อมูลกับหน่วยงานกำกับดูแลทั้งกระทรวงการคลังและสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์(ก.ล.ต.)ในข้อมูลที่มีและวิเคราะห์ให้ภาครัฐเห็นว่า หากจัดเก็บในอัตราต่างๆ แล้วผลกระทบต่อนักลงทุนจะเป็นอย่างไร

“สิ่งที่เราฝากไปคือ ทำอย่างไรที่จะกระทบต่อจำนวนนักลงทุนให้เหมาะสม โดยเก็บตามปริมาณการซื้อขายและควบคุมไม่ให้กระทบต่อนักลงทุนจำนวนมาก และอัตราภาษีที่เหมาะสม ไม่กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันหรือแตกต่างจากตลาดคู่แข่งมาก และที่สำคัญต้องให้เวลากับนักลงทุนได้ปรับตัวและผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมได้ปรับระบบรองรับด้วย”นายภากรกล่าว

ทั้งนี้หากพิจารณาการเก็บภาษีในตลาดหุ้นประเทศอื่นๆในภูมิภาคและที่เป็นคู่แข่งกับไทย เช่น มาเลเซีย สิงค์โปร เวียดนาม เกาหลี ไต้หวัน อินโดนีเซีย เริ่มมีการเก็บภาษีจาก Transaction tax และ Stamp Duty tax แทบทุกประเทศ แต่ไม่เท่ากัน อย่าง ฮ่องกง มาเลเซีย มีการเก็บ Stamp Duty tax ขณะที่ ไต้หวัน เวียดนาม เกาหลี อินโด มีการเก็บจาก Transaction tax ที่มีการเก็บภาษี

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หลังเกิดโควิด-19 เช่นอินโดนีเซียที่เพิ่งประกาศ Transaction tax มาเลเซีย ก็มีการประกาศออกมาปีก่อน ดังนั้น สิ่งที่ภาครัฐกำลังจะออกมา ก็เป็นไปตามนโยบายของหลายประเทศ ที่มีการเก็บเงินภาษีเพื่อมาใช้กระตุ้นเศรษฐกิจ

 

ส่วนอัตราภาษีที่จะจัดเก็บภาษีจาก Transaction tax ที่ 0.1% เป็นอัตราที่กรมสรรพากรกำหนดจริงและเป็นตัวเลขที่ถูกต้อง ภายใต้สมมุติฐานต่างๆ ตลาดหลักทรัพย์ฯไม่ได้เสนอ ซึ่งอัตราภาษีที่เหมาะสมจะเป็นอย่างไรก็ต้องขึ้นกับกระทรวงการคลังจะพิจารณา แต่สิ่งที่ควรจะนำมาวิเคราะห์คืออัตรา 0.1% เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการลงทุน รวมถึง commission fee ต่างๆที่เก็บกับนักลงทุน มีความใกล้เคียง เหมาะสมกับต่างประเทศเหมือนกัน หรือต่างกันอย่างไร

 

การจัดเก็บภาษีจากการซื้อขายหุ้น จะทำให้นักลงทุนไหลออกจากตลาดหุ้นไทยหรือไม่ จากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น นายภากรกล่าวว่า ปัจจุบันนักลงทุนไทยมีการไปลงทุนในต่างประเทศ และทั่วโลกอยู่แล้ว บนต้นทุนที่ต่ำลงเรื่อยๆ ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลว่า การพิจารณา Transaction tax จึงต้องคิดถึงการลงทุน หากเทียบกับต่างประเทศด้วย ซึ่งการลงทุนต่างประเทศมีหลายวิธี แต่ละวิธีมีข้อดีข้อเสีย จึงเป็นเหตุผลที่ปีหน้า ตลาดหลักทรัพย์ฯจะมีการเปิดผลิตภัณฑ์การลงทุนจากต่างประเทศ ที่สามารถซื้อได้ด้วยเงินหลักร้อย หลักพัน เหล่านี้ถือเป็นการปรับตัวเพื่อให้ตลาดหลักทรัพย์มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายมากขึ้น

 

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่า ต้นทุนการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนสูงขึ้นแน่นอน และอาจมีนักลงทุนบางประเภท ที่ได้รับถูกผลกระทบ โดยเฉพาะ High frequency trading ทั้งที่เป็นนักลงทุนในประเทศ และในต่างประเทศที่ซื้อขายเร็ว โดยหวังที่จะกำไรระยะสั้นๆ คงมีผลกระทบ เพราะต้องรอให้สินทรัพย์ หรือตราสารเคลื่อนไหวมากกว่าเดิม ถึงซื้อขายได้ ดังนั้นก็อาจกระทบต่อวอลุ่มการซื้อขายส่วนนี้

 

นอกจากนั้น ก่อนที่จะมีการดำเนินการหรือนำมาใช้ ต้องการให้มีเวลาที่ทำให้นักลงทุนทราบล่วงหน้า หรือพิจารณาช่วงที่เหมาะสม อย่างน้อยจะได้รู้ว่าผลกระทบมีอะไรบ้าง นักลงทนจะได้ปรับตัว อุตสาหกรรมจะได้มีการวางแผนระบบ เรื่องการเก็บข้อมูล เก็บภาษีให้ได้ทันเวลา เมื่อภาครัฐออกมา ซึ่งขึ้นอยู่กับภาครัฐ ยิ่งมีเวลามากยิ่งดี จะได้มีเวลาเตรียมตัว

 

“แม้จะประกาศข่าวการเก็บภาษีออกมา แต่ตลาดหุ้นไทยกลับตกใจค่อนข้างน้อยนั้น อาจเพราะเรื่องนี้ มีการพูดถึงมาสักระยะแล้วก่อนหน้า ดังนั้นนักลงทุนน่าจะรับข่าวไปแล้ว ขณะเดียวกัน ในช่วงการซื้อขายช่วงธ.ค. เป็นช่วงที่วอลุ่มการซื้อขายค่อนข้างน้อย ทำให้ผลกระทบน้อยกว่าปกติ”นายภากรกล่าว

Back to Top